คำถามที่พบบ่อย

ย้อนกลับ

โครงการประชุมเมืองไทย

A: โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย เป็นโครงการที่ สสปน. ให้เงินสนับสนุนการจัดงานประชุมและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Meeting and Incentive) ในประเทศไทย ของบริษัท องค์กรเอกชน ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย โดยมีเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนตามประกาศ หลักเกณฑ์ ของ สสปน.
A: ผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้โดย ลงทะเบียนผ่าน www.thaimiceconnect.com
A: ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร
A: ขอรับสนับสนุนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 66 ถึง วันที่ 22 สิงหาคม 66 หรือ จนกว่าจะครบจำนวนเงินงบประมาณที่ให้การสนับสนุน (แล้วแต่เหตุใดจะถึงก่อน)
A: ผู้ที่สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม ภายใต้โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรฐกิจไทย ปี 2566 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ และ นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนของไทย โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
หมวด ก. ผู้ประกอบการ หมายถึง
1. ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจบริษัทรับจัดการธุรกิจไมซ์ Destination Management Company (DMC) บริษัทรับจัดการประชุม บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบการข้างต้น จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. โรงแรม หรือสถานที่จัดงาน ที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย หรือ สมาคมโรงแรมในภูมิภาคหรือจังหวัด หรือสมาคมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3. โรงแรมหรือสถานที่จัดงาน ที่ได้รับมาตรฐาน TMVS (Thailand MICE Venue Standard) หรือ AMVS (ASEAN MICE Venue Standard)
หมวด ก. ผู้ประกอบการ ต้องเป็นสมาชิกที่มีฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com และต้องมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น
หมวด ข นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม มูลนิธิ และในที่นี้หมายรวมผู้ประกอบกิจการเอกชนทั้งหมด เช่น บริษัท จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย เป็นต้น
A: ได้
โดยต้องเป็นบริษัททัวร์หรือผู้ประกอบการนำเที่ยวที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาตประกอบกิจการถูกต้อง และเป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com จึงจะยื่นคำขอรับการสนับสนุนได้
A: ได้
โดยบริษัทต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม มูลนิธิ และในที่นี้หมายรวมผู้ประกอบกิจการเอกชนทั้งหมด เช่น บริษัท จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย เป็นต้นด้วย สามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยตรงผ่านการลงทะเบียนที่
www.thaimiceconnect.com
A: ผู้ขอรับการสนับสนุน ต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 30 ท่าน ซึ่งไม่นับรวมเด็ก เยาวชน และนิสิตหรือนักศึกษา
A: ได้ทุกจังหวัด เพียงแค่จัดกิจกรรมนอกสถานที่ตั้งที่ทำการของเจ้าของงาน และต้องเป็นสถานที่จัดกิจกรรมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Thai MICE Connect อย่างน้อย 1 แห่ง
A: กิจกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กิจกรรมการประชุม (Meetings)
(ข) การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives)
(ค) สัมมนา (Seminars)
(ง) การอบรม (Training)
(จ) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)
(ฉ) กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ (Outing)
(ช) กิจกรรมศึกษาดูงาน (Field trip) เลือกจัดร่วมกับ กิจกรรมจาก (ก) - (ฉ)
A: ความหมาย และขอบเขต ของกิจกรรม ที่ สสปน. ให้การสนับสนุน ภายใต้โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

(ก) กิจกรรมการประชุม (Meetings) หมายถึง การจัดประชุมของกลุ่มบุคคลที่มาจากบริษัทเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสำนักงานเดียวกัน โดยการประชุมดังกล่าวจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกันภายใต้เวลาและสถานที่ที่กำหนด โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมองค์กรในแต่ละครั้งนั้น ประกอบไปด้วย การสร้างความผูกพัน ความสามัคคี เพื่อให้พนักงานของบริษัทและองค์กรมี ความเข้าใจถึงทิศทางการดำเนินงานของบริษัท ให้พนักงานขององค์กรได้มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์การจัดงานของบริษัท (ที่มา MICE101, สสปน. 2559, Meeting 101 การประชุมองค์กร, สสปน. 2563)

(ข) การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) หมายถึง การเดินทางที่บริษัท หรือ องค์กร จัดให้กับบุคลากรหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรในการสร้างผลประโยชน์หรือการดำเนินการขององค์กร เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในการทำงาน และเพื่อก่อให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงผลักดันในการพัฒนาสมรรถภาพในการทำงาน (ที่มา MICE101, สสปน. 2559)

(ค) สัมมนา (Seminars) หมายถึง เป็นการประชุมที่บุคลากรขององค์กรเข้ามาร่วมประชุม โดยมีผู้เชี่ยวชาญภายใต้หัวข้อที่กำหนดไว้มาเป็นวิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งการประชุมประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เพิ่มเติม และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา MICE101, สสปน. 2559)

(ง) การอบรม (Training) หมายถึง เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมองค์กรเพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความสามารถของพนักงานผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฟังการบรรยาย เป็นต้น (ที่มา Meeting 101 การประชุมองค์กร, สสปน. 2563)

(จ) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หมายถึง กิจกรรมที่องค์กรหรือบริษัทจัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมจะช่วยให้พันธมิตรและกลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้ถึงภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งในขณะเดียวกันสมาชิกในฐานะคณะทำงาน จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น การสร้างบ้านให้ชุมชนในท้องถิ่น การเรียนทำอาหารจากเชฟในท้องถิ่น โดยประเภทของกิจกรรม CSR แบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ (Schooley, 2019) ได้แก่ 1) กิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) กิจกรรมการบริจาค 3) กิจกรรมการปฏิบัติด้านแรงงานอย่างมีจริยธรรม และ 4) กิจกรรมจิตอาสา (ที่มา Incentive 101 การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล, สสปน. 2563)

(ฉ) กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ (Outing) หมายถึง กิจกรรมที่องค์กรดำเนินการจัดการเป็นให้บุคลากรในองค์กร โดยมีเป้าหมายและกิจกรรมที่กำหนดขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้องค์กรดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ ประกอบไปด้วย การสร้างความผูกพัน ความสามัคคี เพื่อให้พนักงานของบริษัทและองค์กรมีความเข้าใจถึงทิศทางการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ให้พนักงานขององค์กรได้มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (ที่มา Meeting 101 การประชุมองค์กร, สสปน. 2563)

(ช) กิจกรรมศึกษาดูงาน (Field trip) เลือกจัดร่วมกับ กิจกรรมจาก (ก) - (ฉ) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้กับพนักงานเดินทางร่วมกันไปดูกิจการขององค์กร หน่วยงาน ชุมชน นอกสถานที่ ภายนอกองค์กร ทั้งนี้ จะต้องจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน(Field trip) ร่วมกับจัดกิจกรรมใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) กิจกรรมการประชุม (Meetings) (ข) การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) (ค) สัมมนา (Seminars) (ง) การอบรม (Training) (จ) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) (ฉ) กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ (Outing) เท่านั้น
A: กรณีสาขาบริษัท บริษัทย่อย หรือ บริษัทในเครือ ให้นับเป็น 1 บริษัท เนื่องจากอยู่ภายใต้เจ้าของเดียวกัน สามารถขอรับการสนับสนุนร่วมกันได้ โดยใช้เอกสารของบริษัทสาขาใหญ่ หรือ ย่อย ในการขอรับการสนับสนุนก็ได้
A: ต้องส่งคำขอรับการสนับสนุนล่วงหน้าอย่างน้อย 9 วัน ก่อนวันดำเนินกิจกรรม และต้องจัดกิจกรรมภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566
A: สำนักงานจะให้งบประมาณสนับสนุนตามเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

1) เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรม จำนวนไม่เกิน 15,000 บาทต่อกิจกรรม เมื่อจัดกิจกรรม ระยะเวลา 1 วัน นอกสถานที่ตั้ง โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

2) เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรม จำนวนไม่เกิน 30,000 บาทต่อกิจกรรม เมื่อจัดกิจกรรม ระยะเวลาอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน นอกสถานที่ตั้ง โดยมีการจัดกิจกรรมรวมทั้ง 1 วัน นั้น โดยการจัดกิจกรรมวันใดวันหนึ่ง ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และอีก 1 วัน ต้องไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง (ตามกำหนดการจัดกิจกรรม) และมีการพักค้างคืน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องมีการเข้าพักอย่างน้อย 5 ห้อง

3) สถานที่จัดกิจกรรม ต้องมีชื่อธุรกิจในฐานข้อมูล Thai MICE Connect อย่างน้อย 1 แห่ง
A: ดูจากสถานที่ตั้งของเจ้าของงานเป็นหลัก ซึ่งหมายถึง การจัดกิจกรรมต้องจัดนอกสถานที่จดทะเบียนของบริษัทเจ้าของงาน ที่ขอรับการสนับสนุน โดยสามารถจัดกิจกรรมได้ในโรงแรม หรือสถานที่จัดงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย หรือ สมาคมโรงแรมในภูมิภาคหรือจังหวัด หรือสมาคมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สถานที่ที่ได้รับมาตรฐาน TMVS (Thailand MICE Venue Standard) หรือ AMVS (ASEAN MICE Venue Standard) รวมไปถึงสถานที่จัดกิจกรรมในชุมชน

ซี่งแบ่งตัวอย่างเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีบริษัทหรือองค์กรเอกชน เป็นผู้ขอรับสนับสนุน เช่น บริษัท AA ตั้งอยู่ อาคาร สยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ สามารถจัดกิจกรรมในโรงแรม หรือสถานที่จัดงานในพื้นที่ใกล้เคียงได้ โดยจะอยู่ในจังหวัดเดียวกันหรือต่างจังหวัดกันก็ได้ แต่ไม่สามารถจัดกิจกรรมที่ ตึกอาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ หรือ สถานที่จัดงานที่เป็นสาขาของบริษัทได้

2. กรณีผู้ประกอบการโรงแรมต้องการจัดกิจกรรมให้กับพนักงานของโรงแรม ไม่สามารถใช้สถานที่ของโรงแรมตนเองได้ ต้องเลือกจัดกิจกรรม ณ สถานที่จัดงานอื่น

3. กรณีบริษัทจัดฝึกอบรม มีห้องประชุม หรือสถานที่จัดงานของตนเอง และต้องการขอรับการสนับสนุนกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้นเอง หรือ จัดงานให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ต้องเป็นการจัดกิจกรรมในสถานที่จัดงานอื่น ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของบริษัท
A: ผู้ขอรับการสนับสนุน 1 รายnมีสิทธิ์ขอรับการสนับสนุนได้ไม่เกิน 10 สิทธิ์
A: ระบบการลงทะเบียนส่งคำขอรับสนับสนุน จะมีการคำนวนงบประมาณตามคำขอ และทาง สสปน. จะประกาศบนหน้าเว็บไซต์ทันทีที่มีผู้ขอรับการสนับสนุนครบวงเงิน โดย สสปน จะพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของคำขอสนับสนุนที่ได้ลงทะเบียนมา
A: 1) กำหนดการเดินทางจัดกิจกรรม (Trip Itinerary) ที่ระบุรายละเอียดกิจกรรม วัน เวลา และสถานที่จัดกิจกรรม

2) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกไว้ไม่เกิน ๓ เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือฯ และหนังสือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.20 (ถ้ามี)
กรณี ผู้ขอรับการสนับสนุน หมวด ก. ผู้ประกอบการ ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังไม่หมดอายุ เพื่อประกอบการพิจารณา

3) ใบเสนอราคาที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน หรือใบสั่งซื้อสั่งจ้าง หรือสัญญาจ้าง ที่มีการระบุข้อความ "ขอรับการสนับสนุนโครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย ปี 2566 จากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)" พร้อมลงนามเจ้าของงาน และ/หรือผู้รับจ้างจัดงาน
A: แผนการจัดกิจกรรม และ/หรือ กำหนดการเดินทาง (Itinerary) หมายถึง แผนการจัดกิจกรรม หรือกำหนดการจัดกิจกรรม หรือ กำหนดการเดินทางเพื่อจัดกิจกรรมที่ให้การสนับสนุน คือ

(ก) กิจกรรมการประชุม (Meetings)
(ข) การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives)
(ค) สัมมนา (Seminars)
(ง) การอบรม (Training)
(จ) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)
(ฉ) กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ (Outing)
(ช) กิจกรรมศึกษาดูงาน (Field trip) เลือกจัดร่วมกับ กิจกรรมจาก (ก) - (ฉ)
A: หนังสือรับรองนิติบุคคล หมายถึง เอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคลเพื่อใช้ในการทำธุรกิจหรือธุรกรรมต่างๆ (แหล่งอ้างอิงกระทรวงพาณิชย์ https://www.moc.go.th)

ทั้งนี้ หนังสือรับรองนิติบุคคลต้องออกไว้ไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่ส่งคำขอรับสนับสนุนเข้ามาในระบบ

ในกรณีของ สมาคม หรือ มูลนิธิ มีคำอธิบาย ดังนี้

สมาคม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 78 บัญญัติความหมายของสมาคมไว้ว่าการก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะ ต่อเนื่อง ร่วมกันและมิใช่เป็นการหากกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ แสดง ให้เห็นว่าการก่อตั้ง โดยสมาคมจะมีลักษณะ
1. เป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคล
2. เพื่อกระทำการใดๆ เป็นการต่อเนื่องไม่ใช่ทำกันเพียงชั่วคราว แล้วเลิกไป
3. เป็นแนวทางปฏิบัติ
4. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

มูลนิธิ มูลนิธิเป็นนิติบุคคลที่ต้องดำเนินกิจการภายใต้กรอบแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2535 ความหมายของมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิไว้ว่า มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
A: ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ หมายถึง เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (รร2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
A: เฉพาะผู้ประกอบการที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่านั้น ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องแนบ ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.20 ในการประกอบหลักฐานการขอรับสนับสนุน

ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร

3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.20 หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเมื่อผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป (แหล่งอ้างอิง https://www.rd.go.th/307.html)
A: ตามเงื่อนไขการให้การสนับสนุนในปีนี้ ขอให้ผู้ขอรับการสนับสนุน ระบุข้อความ "ขอรับการสนับสนุนโครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย ปี 2566 จากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)" พร้อมลงนามเจ้าของงาน และ/หรือ ผู้รับจ้าง (ถ้ามี) โดย เป็นตัวพิมพ์ ซึ่งจะระบุไว้ส่วนใดของเอกสารก็ได้ เช่น คำอธิบาย รายละเอียด รายการบริการ หรือ ในส่วนต้นของเอกสาร หรือ เป็นหมายเหตุ ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการลงรายมือชื่อเจ้าของงาน ผู้ว่าจ้างด้วย
A: หนังสือมอบอำนาจใช้ในกรณีที่
1) ผู้ขอรับสนับสนุนได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ในการดำเนินการแทนเพื่อยื่นเรื่องขอรับสนับสนุน
2) เจ้าของงาน มอบอำนาจให้ผู้ขอรับสนับสนุนดำเนินการแทน
A: การลงนาม หมายถึง การลงลายมือชื่อกำกับรับรองเอกสารที่ใช้ประกอบการขอรับการสนับสนุน โดยผู้ที่สามารถลงนามได้ คือ ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือ ผู้ได้รับมอบอำนาจของบริษัทเจ้าของงาน และ/หรือ บริษัทที่ขอรับการสนับสนุน และประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ทั้งนี้จำนวนหรือชื่อกรรมการ ต้องตรงตามเงื่อนไขในหนังสือรับรองของบริษัทด้วย
A: หากผู้ขอเป็นธุรกิจประเภทที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี หรือ มีตราประทับนิติบุคคล ขอให้ประทับตรานิติบุคคลด้วย

ประเภทของกิจการที่ต้องมีตราประทับนิติบุคคล ประกอบด้วย
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำเป็นต้องจดทะเบียนตรา เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1064 บังคับไว้
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนตรา เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1078 ไม่ได้บังคับไว้
3. บริษัทจำกัด ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนตราก็ได้ เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 ไม่ได้บังคับไว้

(แหล่งอ้างอิง: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
A: กรณีที่ผู้ขอรับสนับสนุน ส่งเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จะสามารถแก้ไขได้โดยต้องแก้ไขให้เรียบร้อย ก่อนวันจัดกิจกรรม 9 วัน โดยเจ้าหน้าที่โครงการจะทำการตรวจคัดกรองในเบื้องต้นหลังจากบริษัท/องค์กร กรอกรายละเอียด และแนบเอกสารขอรับการสนับสนุนครบถ้วนถูกต้องบนเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com และแจ้งกลับโดยเร็วที่สุดผ่านทางอีเมลที่ผู้ขอรับสนับสนุนได้ลงทะเบียนไว้บนเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com
A: เมื่อสำนักงานได้รับหลักฐานประกอบการขอรับการสนับสนุนจะพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนตามหลักเกณฑ์ และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 5 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหลักฐานการขอรับการสนับสนุนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ หากพิจารณาให้สนับสนุน สำนักงานจะส่งหนังสือตอบรับให้การสนับสนุนจากอีเมล [email protected] เพื่อยืนยันการให้การสนับสนุน
A: เวลาทำการ ของเจ้าหน้าที่โครงการที่ทำงานตรวจสอบเอกสาร การตอบโทรศัพท์ทาง Call Center หมายเลข 02 793 3456
และตอบข้อความทาง Facebook page Thaimiceconnect และ Line : @thaimiceconnect
คือ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8:30 น - 17:30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
A: ท่านสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่โครงการเพื่อสอบถามข้อมูลได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. Call Center หมายเลข 02 793 3456
2. Facebook page: Thaimiceconnect
3. Line official account: @thaimiceconnect
A: กรณีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมก่อนได้รับการอนุมัติให้การสนับสนุน ผู้ขอรับสนับสนุนสามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้บนระบบ ตามที่ต้องการ โดยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีอีเมล์แจ้งเตือนกลับมายังผู้ดูแลระบบ ทั้งนี้หากอยู่ระหว่างการพิจารณาจะไม่สามารถแก้ไขคำขอได้จนกว่าการพิจารณาจะเรียบร้อย หากต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หลังจากที่ได้รับการอนุมัติแล้ว เงื่อนไขสำคัญคือ ต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 5 วัน ก่อนการจัดกิจกรรม จากนั้น สสปน. จะทำการตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งอีเมลตอบรับทราบการเปลี่ยนแปลงแจ้งกลับไปยังผู้ขอรับสนับสนุน ทางอีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้บนเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com

ทั้งสองกรณี ไม่ต้องยื่นเอกสารใหม่ หากเป็นการเปลี่ยนแปลง สถานที่ วัน เวลา ยกเว้นกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเอกสารประกอบ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่โครงการต้องทำการตรวจสอบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
A: หากผู้ขอรับสนับสนุนต้องการยกเลิกโครงการที่ส่งขอรับสนับสนุน สามารถขอยกเลิกโครงการที่ส่งคำขอไปแล้ว โดยกดปุ่ม "ขอยกเลิก" ที่หน้ารายการโครงการ หรือหน้ารายละเอียดโครงการ บนเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ที่ได้ทำการกรอกรายละเอียดไว้ พร้อมระบุสาเหตุที่ต้องยกเลิกโครงการได้ในช่อง "เหตุผล"
A: ผู้ขอรับสนับสนุน จะต้องจัดกิจกรรมสถานที่ใดที่หนึ่ง ที่มีฐานข้อมูลอยู่ใน เว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ของ สสปน. อย่างน้อย 1 แห่ง ดังนี้

1. เลือกการจัดกิจกรรม 1 วัน ผู้ขอรับสนับสนุนสามารถจัดกิจกรรมกี่แห่งก็ได้ แต่ใน 1 วัน สถานที่ไปจัดกิจกรรมจะต้องมีฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ของ สสปน. อย่างน้อย 1 แห่ง และต้องจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง นอกสถานที่ตั้งของเจ้าของงาน

2. เลือกจัดกิจกรรม 2 วัน 1 คืน ผู้ขอรับสนับสนุนสามารถจัดกิจกรรมกี่แห่งก็ได้ แต่ใน 2 วัน 1 คืน สถานที่ไปจัดกิจกรรมจะต้องมีฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ของ สสปน. อย่างน้อย 1 แห่ง และต้องจัดกิจกรรมวันใดวันหนึ่ง ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และอีก 1 วัน ต้องไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
A: ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องยืนยันตัวตนเพื่อขอรับการสนับสนุนตามขั้นตอนยืนยันตัวตน ในหน้า "โครงการประชุมเมืองไทย" เป็นขั้นตอนแรก กรณีผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลของผู้ขอรับการสนับสนุน มิได้ยื่นคำขอรับสนับสนุนด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจกระทำการแทน เพื่อประกอบขั้นตอนยืนยันตัวตนการเป็นนิติบุคคลด้วย
A: จัดกิจกรรมนอกสถานที่ๆตั้งบริษัท เช่น บริษัท AA ตั้งอยู่อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ จึงไม่สามารถจัดที่ ตึกอาคาร สยามพิวรรธน์ ทาวเวอร์ได้ แต่สามารถจัดโรงแรมในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตอำเภอเดียวกันได้ เช่น จัดกิจกรรมที่ Mercure Hotel เป็นต้น
A: สามารถทำได้โดยกดปุ่มขอยกเลิกในระบบได้เลย กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ ต้องแจ้งก่อนวันที่จะจัดกิจกรรมอย่างน้อย 5 วัน ก่อนการจัดกิจกรรม หากมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหรือสถานที่ โดยไม่มีการแจ้งจะไม่สามารถเบิกเงินสนับสนุนได้
A: สสปน. จ่ายยอดเช็ค 14,859.82 บาท รายละเอียด ดังนี้ สสปน. หัก 1% ก่อน vat เช่น 15,000 บ. vat 7% เท่ากับ 981.31 บ. เหลือ 14,018.69 บ. สสปน. หัก ณ ที่จ่าย 1% 140.18 เช็คจะเท่ากับ 14,859.82 บาท
A: - ต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ซึ่งไม่นับรวมเด็ก เยาวชน และนิสิตหรือนักศึกษา
- รูปถ่ายผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้มีจำนวนเยอะที่สุดเท่าที่ทำได้
A: กรณีผู้ประกอบการรายเดียวกัน จัดกิจกรรมชื่อโครงการต่างกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือนขึ้นไป
A: ได้ แต่ต้องมีหนังสือรับรองว่าผู้ประกอบการได้มีการยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตจริง ที่ออกโดยหน่วยงาน ที่ท่านได้ไปดำเนินการขอใบอนุญาต
A: นับตั้งแต่ลงทะเบียน จนถึงจบการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ไม่นับรวมพักรับประทานอาหาร
A: สมาคมที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลตามกฎหมาย ขอเองไม่ได้ แต่ถ้าหากสมาคมหรือชมรมมีเอกสารยืนยันการจัดตั้งสามารถขอรับการสนับสนุนโดยผ่านผู้ประกอบการ DMC ได้ ซึ่งสำหรับสมาคมผู้ปกครองผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้คือ ผู้ปกครองเท่านั้น ไม่รวมเด็ก โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งในนามบริษัทขอรับการสนับสนุนได้
A: สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจได้ที่ https://meeting.thaimiceconnect.com/th/download
A: ไม่ได้ ผู้ขอรับสนับสนุนสามารถยื่นส่งหลักฐานเบิกจ่ายได้ เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น
A: ไม่มี กรณีผู้ขอรับสนับสนุนมีเหตุต้องเปลี่ยนห้องประชุมกระทันหัน แต่ยังเป็นสถานที่จัดงานเดิม สามารถเปลี่ยนได้
A: สามารถมอบอำนาจช่วงได้ แต่ในหนังสือมอบอำนาจฉบับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ในการให้อำนาจการขอรับสนับสนุน
A: ไม่สามารถจัดงานในที่ตั้งของบริษัทสาขาได้ เนื่องจาก เงื่อนไขหลักของการให้การสนับสนุนคือต้องเป็นการจัดงานนอกสถานที่ตั้งของเจ้าของงาน ทั้งนี้สถานที่ตั้งของเจ้าของงาน หมายรวมถึงบริษัทสาขา บริษัทในเครือ หรือบริษัทรับบริหารจัดการธุรกิจทรัพย์สินของเจ้าของงาน
A: ในกรณีที่เจ้าของงานเป็นรูปแบบของชมรม ต้องมีเอกสารจัดตั้งหรือเอกสารหลักฐานใดๆ ยืนยันความเป็นตัวตนของชมรม รวมไปถึงเอกสารหลักฐานในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารรับเงินค่าสมาชิกชมรม เอกสารบันทึกการประชุมของชมรมที่ระบุชื่อสมาชิกชมรมผู้เข้าร่วมการประชุม รายชื่อการแต่งตั้งสมาชิกชมรมในตำแหน่งต่างๆ เอกสารรับรองการจัดตั้งชมรมจากหน่วยงานต้นสังกัด สมาคม หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่จัดตั้ง เป็นต้น
A: บริษัทรับจัดฝึกอบรมสามารถขอรับการสนับสนุนได้ใน 2 กรณีด้วยกันคือ
1) จัดกิจกรรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทเองนอกสถานที่ตั้ง
2) รับจัดกิจกรรมให้องค์กร หน่วยงาน หรือ บริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่การจัดแบบเปิดให้บุคคลทั่วไปมาลงทะเบียน
A: เอกสารใบเสนอราคาหรือใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือสัญญาจ้าง ที่ยังไม่ได้มีการชำระเงินวางมัดจำ สามารถใช้ยื่นในการขอรับสนับสนุนก่อนการจัดงานได้ และเมื่อจัดงานเสร็จสิ้นแล้ว การยื่นขอรับสนับสนุนหลังจัดงาน ต้องใช้เอกสารใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบเสร็จรับเงิน (Receipt) ตัวจริงในการยื่นขอรับสนับสนุนหลังการจัดงานแล้ว
A: หากมีมากกว่า 2 รุ่นจัดวันติดกัน หัวข้อเดียวกัน โครงการเดียวกัน ต้องตรวจสอบรายชื่อว่าไม่ซ้ำกัน และไม่ได้มาร่วมกิจกรรมพร้อมกัน และหากหักชื่อที่ซ้ำแล้วต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ตามจำนวนขั้นต่ำที่ให้การสนับสนุน
A: เป็นกรุ๊ปชาวต่างชาติได้ แต่ต้องทำงานในประเทศไทยบริษัทจดทะเบียนในไทย เท่านั้น
A: เอกสารประกอบการเบิกเงินสนับสนุน ประกอบด้วย
1) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) หรือ หนังสือขอเบิกเงินสนับสนุน

2) หนังสือตอบรับให้การสนับสนุน ที่ได้รับจากอีเมล [email protected] พร้อมลงนามในหนังสือตอบรับและรับทราบข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้การสนับสนุน โดยผู้มีอำนาจลงนาม หรือผู้รับมอบอำนาจ และประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ของผู้ขอรับการสนับสนุน ที่ระบุไว้ในหนังสือตอบรับการสนับสนุนของสำนักงาน

3) สำเนารายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม ที่ระบุชื่อกิจกรรม วัน เวลา และสถานที่จัดกิจกรรม หรือสำเนากรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม ที่ระบุรายชื่อผู้เดินทางร่วมกิจกรรม
กรณี จัดกิจกรรมที่มีการพักค้างคืน ต้องนำส่งหลักฐานแบบฟอร์มแสดงการเข้าพักในโรงแรม และ/หรือสถานที่พักที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (Guest Folio) อย่างน้อย 5 ห้อง ของผู้ร่วมกิจกรรมร่วมด้วย โดยเอกสารดังกล่าวต้องเป็นหลักฐานที่โรงแรม และ/หรือสถานที่พักที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เป็นผู้ออกให้เท่านั้น

4) ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม อย่างน้อย 4 ภาพ (ชนิดไฟล์ JPG, JPEG PNG) ประกอบด้วยภาพดังนี้
(1) ภาพถ่ายหมู่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมีโลโก้ของสำนักงาน ปรากฎในภาพอย่างชัดเจน
(2) ภาพถ่ายหมู่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปรากฎภาพสถานที่จัดกิจกรรม อย่างชัดเจน
(3) ภาพถ่ายผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับการทำกิจกรรมตามกำหนดการ
(4) ภาพถ่ายการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการตามความเหมาะสม

5) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online (แบบ บช 23) พร้อมแนบสำเนาหน้าสมุดบัญชี (สามารถ Download ได้ที่ www.thaimiceconnect.com)
A: กรณี ผู้ขอรับการสนับสนุน นำส่งเอกสารหลักฐานขอเบิกเงินสนับสนุนยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด สำนักงานจะแจ้งให้ผู้ขอรับการสนับสนุนแก้ไขให้ถูกต้อง โดยนำส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับแจ้งจากสำนักงาน หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว สำนักงานถือว่าสละสิทธิ์การขอเบิกเงินสนับสนุน
A: ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บถึง

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 25,26 ยูนิต เอ2 บี1 และ บี2
เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0994000112165 สำนักงานใหญ่

โดยระบุรายระเอียด
ค่าสนับสนุน จัดกิจกรรม xxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ภายใต้โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย
จัดกิจกรรมวันที่ xxxxxxxxxx
ตามคำขอรับการสนับสนุนลำดับที่ (IDXXXXXX)ลงวันที่...........
รวมค่าภาษี 7% (กรณีที่เป็น สมาคมหรือองค์กรที่ไม่มีใบ ภพ.20 ไม่หักภาษี ไม่ต้องระบุ)
A: ในกรณีที่ผู้ขอรับสนับสนุนไม่มีรูปแบบของใบแจ้งหนี้ (Invoice) ให้จัดทำเอกสารในรูปแบบหนังสือ (จดหมาย) ขอเบิกเงินสนับสนุน โดยระบุข้อความว่า

ขอเรียกเก็บเงินค่าสนับสนุนโครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย ปี 2566 จากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 25,26 ยูนิต เอ2 บี1 และ บี2 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0994000112165 สำนักงานใหญ่ มีรายการดังต่อไปนี้

ค่าสนับสนุน จัดกิจกรรม xxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ภายใต้โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย
จัดกิจกรรมวันที่ xxxxxxxxxx
ตามคำขอรับการสนับสนุนลำดับที่(IDXXXXXX)ลงวันที่...........
จำนวนเงิน........บาท (ตัวอักษร) รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่เป็น สมาคมหรือองค์กรที่ไม่มีใบ ภพ.20 ไม่หักภาษี ไม่ต้องระบุ)
A: สำเนาหนังสือตอบรับการสนับสนุนจากเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com พร้อมลงนาม จะได้รับจากอีเมล [email protected]ที่ตอบรับให้การสนับสนุน โดยผู้ขอรับการสนับสนุน สามารถสั่งพิมพ์อีเมลตอบรับให้การสนับสนุนที่ทาง สสปน. ส่งให้ และให้ผู้มีอำนาจลงนาม เซ็นชื่อ พร้อมประทับตรา (ถ้ามี) และส่งกลับมาทาง www.thaimiceconnect.com เพื่อประกอบการเบิกจ่าย
A: เพื่อเป็นการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องมีไม่น้อยกว่า 30 คน และความถูกต้องของรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ขอรับสนับสนุน ที่ไม่นับรวมเด็ก เยาวชน และนิสิตหรือนักศึกษา และต้องไม่ซ้ำซ้อน เช่นในกรณีขอรับสนับสนุนในโครงการเดียวกันหลายกิจกรรม หรือ วันที่จัดกิจกรรมติดกันในหัวข้อเดียวกัน หรือ เจ้าของงานเดียวกันจัดกิจกรรมต่อเนื่องกัน เป็นต้น

โดยเอกสารแสดงรายชื่อ ที่ต้องแสดงเพื่อใช้ในการเบิกเงินสนับสนุน ประกอบด้วย
1. รายชื่อผู้เดินทางในสำเนากรมธรรม์ประกันภัย
2. รายชื่อผู้เข้าพัก ตามแบบฟอร์มการเข้าพักของโรงแรม หรือ สถานประกอบการที่ให้บริการที่พัก อย่างน้อย 5 ห้อง
3. ใบลงทะเบียนร่วมกิจกรรม โดยใบลงทะเบียนหากมีการลงลายมือชื่อของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เจ้าหน้าที่โครงการจะนับจำนวนตามลายมือชื่อ โดยจะต้องมีจำนวนผู้ลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 30 คน
A: แบบฟอร์มการเข้าพักของโรงแรม ได้แก่ ใบ รร.3 บัตรจดนามผู้พัก (Guest Registration Card) หรือ เอกสารรายการสรุปการเข้าพักของทางโรงแรมที่แสดง ชื่อและจำนวนห้องพัก ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (เทียบกับใบลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม) อย่างน้อย 5 ห้อง ทั้งนี้ในกรณีที่เข้าพักในสถานที่ที่ไม่ใช่โรงแรม ขอให้มีเอกสารยืนยันการเข้าพักในแบบฟอร์มของทางสถานประกอบการ เช่น Homestay Hostel หรือ ที่พักประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (Guest Folio) และได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทที่ถูกต้องตามกฎหมาย มาประกอบการเบิกจ่ายแทนได้
A: ภาพถ่ายกิจกรรม หมายถึง ภาพเฉพาะกิจกรรมที่แสดงถึงการจัดกิจกรรมในสถานที่ที่ผู้ขอรับการสนับสนุนระบุในรายละเอียดกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ดังนี้

1. ภาพถ่ายหมู่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมีโลโก้ ของ สสปน. ปรากฎในภาพอย่างชัดเจน โดยจะอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่น พื้นหลังบนเวที หรือ ป้ายสำหรับถือประกอบการถ่ายรูป เป็นต้น
2. ภาพถ่ายหมู่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปรากฎภาพสถานที่จัดกิจกรรมอย่างชัดเจน
3. ภาพถ่ายผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมตามกำหนดการ
4. ภาพถ่ายการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการตามความเหมาะสม
A: ตามหลักเกณฑ์ของการให้การสนับสนุน กำหนดให้ต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแผนกิจกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ซึ่งไม่นับรวมเด็ก เยาวชน และนิสิตหรือนักศึกษา หมายความว่า รายชื่อที่จะนำมานับได้ต้องเป็นผู้ที่มาร่วมกิจกรรมเท่านั้น และไม่นับรวมเด็ก เยาวชน และนิสิตหรือนักศึกษา รวมถึง ไม่นับรวมเจ้าหน้าที่ พนักงานต่างๆ ที่ไม่ใช่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
A: ใบลงทะเบียนที่สมบูรณ์ ควรมีรายละเอียดที่ตรงกับกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน มีชื่องาน วันที่ สถานที่จัดงาน และหน่วยงานเจ้าของงาน

กรณีที่ใบลงทะเบียนรายชื่อไม่ระบุชื่อกิจกรรมและไม่มีวันที่จัดงาน หรือมีชื่อกิจกรรมแต่ไม่มีวันที่จัดงาน ในกรณีดังกล่าวจะตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากบางกิจกรรมชื่อมีความคล้ายกัน ไม่สามารถสอบทานว่าเป็นงานที่ตอบรับไปหรือไม่
A: ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องขอเบิกเงินสนับสนุนภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม และไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2566
หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ์การขอรับเงินสนับสนุน โดยผู้ขอรับสนับสนุนต้องส่งเอกสารประกอบการเบิกเงินสนับสนุน ทางเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com
A: เมื่อสำนักงานตรวจสอบเอกสารเบิกจ่ายเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะอนุมัติการจ่ายเงินสนับสนุน และจะจ่ายเงินให้ผู้ขอรับการสนับสนุนภายใน 20 วันทำการ
A: โอนเงินเข้าบัญชีผู้ขอรับสนับสนุน
A: ในการรับเงินสนับสนุนให้ผู้ขอรับการสนับสนุน นำเอกสารการรับเงินตัวจริง ประกอบด้วย ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบเสร็จรับเงิน (Receipt) นำส่งให้ฝ่ายบัญชีการเงิน ได้ที่ สสปน. หรือ ผ่านทางไปรษณีย์ โดยผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งหมด (ถ้ามี)

กรณีจัดส่งทางไปรษณีย์ ที่อยู่สำหรับส่งเอกสาร (ส่งถึงส่วนการเงิน) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้น 25 และชั้น 26 ยูนิต A2, B1, B2 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
A: 1. ให้ผู้ใช้งานเข้าสู่หน้า "สมัครสมาชิก" และเลือกวิธีการสมัครซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 ช่องทาง คือ การสมัครด้วยอีเมล / การสมัครด้วย Facebook / การสมัครด้วยเบอร์โทรศัพท์ และการสมัครด้วย Line
2. หากสมัครด้วยอีเมล เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้ว ให้ผู้ใช้งานกด "สมัครสมาชิก" จะมีการให้ผู้ใช้งานยืนยันตัวตนอีกครั้งโดยจะส่งไปที่อีเมลที่ทำการลงทะเบียนไว้

ทั้งนี้หากสมัครด้วยวิธีอื่นๆ แนะนำให้ผู้ใช้งาน เข้าไปใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเช่น อีเมล / เบอร์โทรศัพท์ หากติดปัญหาทางทีมงานจะสามารถติดต่อ ช่วยเหลือได้โดยตรง
A: 1. ให้ผู้ใช้งานเข้าไปยังหน้าเข้าสู่ระบบและกด "ลืมรหัสผ่าน?" (อยู่บริเวณช่องใส่รหัสผ่าน)
2. เมื่อกดลืมรหัสผ่าน ระบบจะให้ใส่อีเมลที่ลงทะเบียนไว้ หลังจากนั้นให้ผู้ใช้งานกดส่งคำขอเพื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน
3. จะมีอีเมลเปลี่ยนรหัสผ่านส่งไปยังอีเมลที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ได้ทันที
4. ให้ผู้ใช้งานลองเข้าสู่ระบบอีกครั้ง หากเข้าสู่ระบบไม่ได้หรือไม่ได้รับอีเมลเพื่อเปลี่ยนแปลงรหัสผ่าน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านช่องทางแชทหน้าเว็บไซต์ หรือช่องทาง Facebook Fanpage : Thai MICE Connect ช่องทาง Line OA : @thaimiceconnect
A: หากผู้ใช้งานลืมอีเมลเข้าสู่ระบบ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลผ่านช่องทางแชทหน้าเว็บไซต์ หรือช่องทาง Facebook Fanpage : Thai MICE Connect ช่องทาง Line OA : @thaimiceconnect
A: 1. ตรวจสอบว่าเข้าสู่ระบบแล้วหรือไม่ หากเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงชื่อผู้ใช้งานด้านบนขวา หรือยังไม่มีบัญชีให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน
2. จากนั้นให้กดที่ชื่อผู้ใช้งานที่เมนูด้านบน จะแสดงเมนูใช้งาน เลือกเมนู โปรไฟล์บัญชีทั่วไป กดปุ่ม แก้ไขโปรไฟล์ของฉัน จากนั้นแก้ไขข้อมูลส่วนตัวโดยกรอกให้ครบทุกช่อง จากนั้นกดปุ่ม บันทึก
A: 1. ตรวจสอบที่ปุ่มเปลี่ยนภาษาด้านบนขวาว่าเปลี่ยนเป็นภาษาที่ต้องการหรือไม่
2. ลองเข้าเว็บไซต์อีกครั้ง และกดปุ่มเปลี่ยนภาษา
A: 1. กรณีแสดงรหัสขึ้นต้นด้วย 5xx หมายถึง เกิดปัญหาจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ให้ผู้ใช้งานรอผู้ดูแลระบบแก้ไขปัญหา เมื่อเว็บไซต์ใช้งานได้แล้ว ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าเว็บไซต์ได้ตามปกติ
2. กรณีแสดงรหัสขึ้นต้นด้วย 4xx หมายถึง เกิดปัญหาจากฝั่งผู้ใช้งาน ให้ผู้ใช้งานตรวจสอบเว็บเบราว์เซอร์ และอินเทอร์เน็ตว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ และลองเข้าเว็บไซต์อีกครั้ง
3. หากยังไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ แนะนำให้ผู้ใช้งานลองรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ หรือลบแคชในเบราว์เซอร์ จากนั้นเข้าเว็บไซต์อีกครั้ง
4. หากเว็บไซต์ยังใช้งานไม่ได้ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลผ่านช่องทางแชทหน้าเว็บไซต์ หรือช่องทาง Facebook Fanpage : Thai MICE Connect ช่องทาง Line OA : @thaimiceconnect
A: เบื้องต้นผู้ใช้งาน สามารถค้นหาเส้นทางและกิจกรรม ในเส้นทาง MICE City ได้ โดยเข้าไปที่ไมซ์อัปเดต เลือกหัวข้อ "เส้นทางจัดงานไมซ์" ซึ่งจะประกอบไปด้วยเส้นทางต่างๆ 10 เส้นทาง หากผู้ใช้งานสนใจสามารถติดต่อผู้ประกอบการแต่ละพื้นที่ได้
A: 1. ตรวจสอบว่าเข้าสู่ระบบแล้วหรือไม่ หากเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงชื่อผู้ใช้งานด้านบนขวา หรือยังไม่มีบัญชีให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน
2. ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่ม แชทสนทนากับผู้ประกอบการ ในหน้ารายละเอียดธุรกิจนั้น ๆ เพื่อพูดคุยกับธุรกิจหรือผู้ให้บริการ
A: ผู้ใช้งานสามารถขอใบเสนอราคาได้หลายช่องทาง

1. ขอใบเสนอราคาผ่านช่องทางการแชทสนทนา
ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่ม ขอใบเสนอราคา ที่มุมขวาด้านบนกล่องแชทสนทนา และกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้บริการทราบ จากนั้นกดบันทึก และสามารถเช็คการขอใบเสนอราคาที่ส่งไปได้ในส่วนประวัติการขอใบเสนอราคา

2. ขอใบเสนอราคาผ่านหหน้าธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นๆ
ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่ม ขอใบเสนอราคา/เอกสารประกอบได้ที่หน้าของธุรกิจที่สนใจ แล้วกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้บริการทราบ จากนั้นกดขอใบเสนอราคา และสามารถเช็คการขอใบเสนอราคาที่ส่งไปได้ในส่วนประวัติการขอใบเสนอราคา

3. ขอใบเสนอราคาโดยใช้ระบบการวางแผนการจัดงานไมซ์
ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบการวางแผนการจัดงานไมซ์ช่วยในการขอใบเสนอราคา โดยสามารถเลือกการจัดงานแบบเลือกด้วยตนเอง หรือการจัดงานแบบระบบจับคู่อัตโนมัติ
- การจัดงานแบบเลือกด้วยตนเอง ผู้ใช้งานจะสามารถเลือกรายชื่อผู้ประกอบการที่สนใจได้ด้วยตนเอง หลังจากกรอกข้อมูลรายละเอียดงานที่ต้องการจะจัดเสร็จแล้ว
- การจัดงานแบบระบบจับคู่อัตโนมัติ หลังจากกรอกข้อมูลรายละเอียดงานที่ต้องการจัดแล้ว ระบบจะทำการจับคู่รายชื่อผู้ประกอบการให้อัตโนมัติ และสามารถเช็คได้ที่ประวัติการขอใบเสนอราคา
A: 1. ตรวจสอบว่าเข้าสู่ระบบแล้วหรือไม่ หากเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงชื่อผู้ใช้งานด้านบนขวา หรือยังไม่มีบัญชีให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน
2. ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยกับผู้ให้บริการผ่านศูนย์ข้อความ โดยสามารถเข้าสู่ช่องทางการแชทสนทนาได้ดังนี้
2.1. เข้าจากการกดที่เมนูประเภทธุรกิจไมซ์ทั้งหมด เลือกสถานประกอบการ เมื่อเข้ามายังหน้ารายละเอียดแล้วกดปุ่ม แชท/สนทนากับผู้ประกอบการ
2.2 เข้าจากการกดชื่อผู้ใช้งานที่เมนูด้านบน จะแสดงเมนูใช้งาน เลือกเมนู แชทสนทนา และเลือกรายการผู้ประกอบการที่ต้องการจะสนทนา
A: 1. ให้ตรวจสอบว่าผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบแล้วหรือไม่ หากเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงชื่อผู้ใช้งานด้านบนขวา หรือยังไม่มีบัญชีให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน
2. ผู้ใช้งานต้องรอผู้ให้บริการเสนอราคาก่อน แล้วราคาจะแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นในศูนย์ข้อความ
A: 1. สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมเป็นผู้ให้บริการในระบบ Thai MICE Connect สามารถสมัครผ่านระบบได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. เงื่อนไขในการคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบ Thai MICE Connect มีดังต่อไปนี้
- ประกอบกิจการ หรือยื่นวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียน หรือยื่นวัตถุประสงค์ในการส่งงบการเงินปีล่าสุดตรงกับหมวดธุรกิจไมซ์ใน MICE Ecosystem
- ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท
- เป็นผู้ประกอบการที่มีสถานะดำเนินกิจการอยู่
- มีการยื่นงบการเงินในปีงบการเงินล่าสุด
- กรณีเป็นธุรกิจโรงแรม ที่พัก หรือรีสอร์ทต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- กรณีเป็นธุรกิจนำเที่ยวต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ปัจจุบันระบบรองรับเฉพาะวิทยากรที่มีสังกัดหน่วยงาน
A: ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมธุรกิจได้โดยการกด "เข้าร่วมธุรกิจกับเรา" บริเวณแถบด้านบนของเว็บไซต์ Thai MICE Connect
หลังจากนั้นผู้ใช้งานจะต้องใส่ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ เพื่อเป็นการลงทะเบียนกับเว็บไซต์

ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการสมัครเข้าร่วมธุรกิจ Thai MICE Connect
- ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท เช่น ชื่อสถานประกอบการ / เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก / คำบรรยายเกี่ยวกับธุรกิจ / ที่ตั้งของธุรกิจ / ช่องทางการติดต่อ เบอร์โทรศัพท์และอีเมล
- รูปสำหรับประกอบธุรกิจ จำนวนอย่างน้อย 4 รูป / รูปโลโก้ / รูปสำหรับ Thumnail

ในการอัพโหลดรูปมีข้อแนะนำดังนี้
1. รูปประกอบข้อมูลธุรกิจ เป็นรูปแสดงรายละเอียดธุรกิจเพิ่มเติม จำนวนอย่างน้อย 4 รูป และสูงสุด 15 รูป
2. โลโก้สถานประกอบการ
3. รูป Thumnail เป็นรูปที่ใช้ในการแสดงผลการค้นหาผู้ให้บริการ ควรเป็นรูปขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสื่อถึงธุรกิจที่ให้บริการ

ทั้งนี้ควรคัดเลือกรูปที่มีขนาดตามที่ระบบแนะนำไว้ หากใช้รูปคนละขนาดกับที่แนะนำบางส่วนของรูปอาจโดนตัดออกได้
A: หากต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลธุรกิจ ให้ไปที่หน้าเข้าสู่ระบบ ให้ผู้ใช้งานกดที่ "เปลี่ยนผู้ดูแลธุรกิจ" ซึ่งจะต้องใส่ข้อมูล ดังนี้
1. อีเมลของผู้ที่จะดูแลธุรกิจคนใหม่ (หากยังไม่ได้สมัครสมาชิกเว็บไซต์ ให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน)
2. ชื่อธุรกิจที่ต้องการจะเปลี่ยนผู้ดูแล
3. เบอร์โทรศัพท์
4. เหตุผลที่ต้องการเปลี่ยน และกด "ส่งคำขอการเปลี่ยนผู้ดูแลธุรกิจ" หลังจากนั้นทีมงานจะทำการตรวจสอบและดำเนินการเปลี่ยนผู้ดูแลธุรกิจ
A: ให้พิจารณาที่ผู้ดูแลข้อมูลในแต่ละสาขาเป็นหลัก กรณีมีผู้ดูแลข้อมูลแยกกัน แนะนำให้สมัครแยกรหัสผู้ใช้งานตามสาขา แต่ถ้าเป็นผู้ดูแลข้อมูลท่านเดียวกันสามารถเลือกเพิ่มประเภทธุรกิจ ที่หน้าบันทึกข้อมูลธุรกิจของผู้ให้บริการ
A: ชื่อสถานประกอบการเป็นชื่อที่ในทางการค้าเป็นที่รู้จักในแวดวงการค้า ในขณะที่องค์กรหรือชื่อบริษัท คือชื่อที่ใช้ในการจดทะเบียนนิติบุคคล
A: ในปัจจุบันระบบจะยังไม่บังคับกรอกเลขทะเบียนนิติบุคคล แต่เพื่อให้ง่ายต่อการอนุมัติเป็นผู้ให้บริการในระบบ แนะนำให้กรอกให้ครบถ้วน โดยเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักนี้ สามารถค้นหาได้จากหนังสือรับรองนิติบุคคล
A: เมื่อธุรกิจได้รับการอนุมัติแล้ว จะมีข้อความการผ่านการอนุมัติส่งไปยังอีเมลที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ หรือสามารถตรวจสอบผ่านหน้าเว็บไซต์ได้โดยการเข้าไปที่บัญชีธุรกิจ เลือกหัวข้อ "จัดการธุรกิจ" จะมีสถานะการอนุมัติอยู่ด้านข้างว่าธุรกิจผ่านการอนุมัติหรือไม่

และหากยังไม่ได้รับการอนุมัติ จะมีข้อความจากเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ที่ด้านข้างเช่นกัน
ระยะเวลาในการอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการในระบบ Thai MICE Connect อยู่ภายใน 3-5 วันทำการ
A: หลังจากการอนุมัติธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยไปที่หน้าบัญชีธุรกิจ เลือกหัวข้อที่ต้องการแก้ไข ดำเนินการแก้ไขข้อมูลและกดบันทึก
A: หากผู้ใช้งานได้กด "บันทึกข้อมูลและส่งคำขออนุมัติ" แล้ว ระหว่างนี้ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ต้องรอการอนุมัติจากทีมงานหรือตีกลับเพื่อแก้ไขข้อมูล จึงจะสามารถแก้ไขข้อมูลธุรกิจได้
A: นอกจากการประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์ Thai MICE Connect แล้ว ผู้ประกอบการสามารถประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตนเองได้ผ่านช่องทางข่าวสารธุรกิจ โดยไปที่บัญชีธุรกิจ เลือก "จัดการธุรกิจ" แล้วเลือกหัวข้อ "จัดการโพสต์ของธุรกิจ"

ข้อความในข่าวสารธุรกิจสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้งานอีโมติคอน สัญลักษณ์ หรืออักขระพิเศษ และการอัพโหลดรูปภาพ หากมีรูปประกอบบทความหลายรูป แนะนำให้อัพโหลดทีละภาพ เพื่อการแสดงผลรูปภาพที่ถูกต้อง
A: ใจไมซ์คือระดับที่แต่ละสถานประกอบการจะได้รับ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสะสมใจไมซ์เพิ่มขึ้นได้ เพื่อสร้างโอกาสในธุรกิจที่มากขึ้น เมื่อมีการอัพเดตข้อมูลต่างๆ ดังนี้
1 ใจไมซ์ - ได้รับตั้งแต่ลงทะเบียนบัญชีธุรกิจ
2 ใจไมซ์ - ได้รับเมื่อลงข้อมูลธุรกิจ และผ่านการอนุมัติ
3 ใจไมซ์ - ได้รับเมื่อมีการโพสต์ข่าวสารหรือโปรโมชั่นครบ 30 โพสต์
4 ใจไมซ์ - ได้รับเมื่อมีการชวนเพื่อน (ผู้จัดงาน/ผู้ประกอบการ) 8 คนขึ้นไป

MICE Point คือคะแนนสำหรับผู้ประกอบการที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบทุกวัน ซึ่งคะแนนที่ได้จะแตกต่างตามระดับของใจไมซ์ โดยคะแนนจะสามารถช่วยให้การแสดงผลของสถานประกอบการอยู่ในหน้าแรกของการค้นหาหรือแสดงข่าวสารจากธุรกิจและโปรโมชั่นในอันดับต้นๆ
A: สิทธิประโยชน์สำหรับ 1 ใจไมซ์ มีดังนี้
- รับรู้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดของวงการ MICE
- รับสิทธิ์ลงทะเบียน MICE Point

สิทธิประโยชน์สำหรับ 2 ใจไมซ์ มีดังนี้
- รับสิทธิ์สะสมคะแนน MICE Point
- โอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
- สร้างใบเสนอราคา คูปองส่วนลด และข่าวสารธุรกิจ
- สถิติภาพรวมผู้ใช้งาน
- รับรู้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดของวงการ MICE

สิทธิประโยชน์สำหรับ 3 ใจไมซ์ มีดังนี้
- รับสิทธิได้โปรโมทลงเพจ Thai MICE Connect และช่องทางการตลาดอื่นๆ
- รับสิทธิ์สะสมคะแนน MICE Point 2 เท่า
- โอกาสได้รับสิทธิ์อยู่ระดับต้นๆ ในการค้นหาเมื่อมีการค้นหาข้อมูล
- โอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
- สร้างใบเสนอราคา คูปองส่วนลด และข่าวสารธุรกิจ
- สถิติภาพรวมผู้ใช้งาน
- รับรู้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดของวงการ MICE

สิทธิประโยชน์สำหรับ 4 ใจไมซ์ มีดังนี้
- รับสิทธิพิเศษสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมของ MICE และ TCEB
- รับสิทธิ์สะสมคะแนน MICE Point 3 เท่า
- รับสิทธิได้โปรโมทลงเพจ Thai MICE Connect และช่องทางการตลาดอื่นๆ
- โอกาสได้รับสิทธิ์อยู่ระดับต้นๆ ในการค้นหาเมื่อมีการค้นหาข้อมูล
- โอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
- สร้างใบเสนอราคา คูปองส่วนลด และข่าวสารธุรกิจ
- สถิติภาพรวมผู้ใช้งาน
- รับรู้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดของวงการ MICE
A: ผู้ประกอบการสามารถสะสม MICE Point ได้โดยการเข้าสู่ระบบบัญชีธุรกิจ หากเข้าสู่ระบบทุกวัน จะได้รับคะแนนวันละ 1 MICE Point โดยคะแนนจะสามารถช่วยให้การแสดงผลของสถานประกอบการอยู่ในหน้าแรกของการค้นหาหรือแสดงข่าวสารจากธุรกิจและโปรโมชั่นในอันดับต้นๆ
A: สำหรับใจไมซ์ 4 ดวงจะไม่มีวันหมดอายุ
A: มี 2 ประเภทคือ
1. คูปองส่วนลด ออกโดย TCEB
2. คูปองส่วนลด ออกโดยผู้ให้บริการสถานประกอบการ
A: ผู้ให้บริการจะต้องเข้าไปกำหนดคูปองดังนี้
1. เข้าไปที่หน้าจัดการธุรกิจ
2. เข้าไปหัวข้อ จัดการคูปอง
3. กำหนดประเภทส่วนลดตามที่ผู้ให้บริการต้องการ ประกอบไปด้วย
3.1 กำหนดส่วนลดในรูปแบบร้อยละ
3.2 กำหนดส่วนลดในรูปแบบจำนวนเงิน
3.3 กำหนดส่วนลดในรูปแบบอื่นๆ
A: ส่วนลดจากคูปองที่ระบุไว้ตามเงื่อนไข จะถูกหักออกจากใบเสนอราคาโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น
ผู้ใช้งานได้กรอกคูปองส่วนลดมูลค่า 5,000 บาท สำหรับการจัดประชุมสัมมนาเพื่อขอใบเสนอราคาไปยังโรงแรมที่ต้องการโดยมีงบประมาณอยู่ที่ 15,000 บาท โรงแรมจะต้องยื่นเสนอราคาก่อนหักส่วนลดซึ่งระบบจะดำเนินการหักส่วนลดนี้ให้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นหากโรงแรมส่งใบเสนอราคาอยู่ที่ช่วงราคา 15,000 - 20,000 บาท ใบเสนอราคาที่ลูกค้าจะได้รับคือ 15,000 - 20,000 บาท ลบกับมูลค่าคูปอง 5,000 บาท จะอยู่ที่ 10,000 - 15,000 บาท